Tuesday, August 11, 2015

ระบุ ไม่รักษา ตับจะทำงานผิดปกติส่งผลกระทบทั่วร่างกาย

ปัจจุบันไขมันพอตับกลายเป็นปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ตับทำงานผิดปกติและอาจกลายเป็นตับแข็งในที่สุด จากข้อมูลทางคลินิกพบว่าคนอ้วนและผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำมีภาวะไขมันพอกตับสูงถึง 50%1 และ 57.7% ตามลำดับ ส่วนผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไปมีประมาณ 25% เป็นไขมันพอกตับ และสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่านั้นคือ ไขมันพอกตับส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยจึงมักจะไม่รู้ตัวหรือไม่ใส่ใจในการรักษา

          ไขมันพอกตับคืออะไร...

          ไขมันพอกตับใช่ว่าจะมีไขมันพอกอยู่บนตับ หากแต่หมายถึง การสังเคราะห์ไขมันในตับผิดปกติ ทำให้ไขมันโดยเฉพาะไตรกลีเซอไรด์ที่แทรกอยู่ในเซลล์ตับมีน้ำหนักเกิน 5% ของตับ ซึ่งจะทำให้ตับทำงานผิดปกติ ตับอักเสบและอาจพัฒนาเป็นตับแข็งในที่สุด ไขมันพอกตับสามารถแบ่งความรุนแรงออกเป็น 3 ระยะ

          - ระยะแรก: ไขมันที่แทรกอยู่ในเซลล์ตับมีน้ำหนักประมาณ 5-10% ของตับ
          - ระยะกลาง: ไขมันที่แทรกอยู่ในเซลล์ตับที่มีน้ำหนักประมาณ 10-25% ของตับ
          - ระยะรุนแรง: ไขมันที่แทรกอยู่ในเซลล์ตับที่มีน้ำหนักเกิน 30% ของตับ

          ไขมันพอกตับส่วนใหญ่จะตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพประจำปีหรือตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อรักษาโรคอย่างอื่น ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ป่วยไขมันพอกตับในระยะแรกหรือแม้กระทั่งพัฒนาเป็นตับอักเสบหรือตับแข็งแล้ว ส่วนใหญ่ก็ยังไม่แสดงอาการ

          ไขมันพอกตับเกิดจากสาเหตุอะไร...

          ไขมันพอกตับเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การดื่มสุรา การสังเคราะห์ไขมันของตับผิดปกติ โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ตับอักเสบจากไวรัส การขาดสารอาหาร ผลข้างเคียงจากการใช้ยา การตั้งครรภ์ เป็นต้น

          ไขมันพอกตับเกิดจากสาเหตุอะไร...

          ผู้ป่วยไขมันพอกตับกว่า 50% ไม่แสดงอาการโดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็นไขมันพอกตับระยะแรก แต่ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษา ภาวะไขมันพอกตับก็จะรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยอาจมีอาการต่างๆ ดังนี้:

          - รู้สึกอึดอัดหรือปวดแน่นบริเวณชายโครงด้านขวา
          - เบื่ออาหาร รู้สึกท้องอืดท้องเฟ้อคล้ายอาหารไม่ย่อย
          - ท้องผูกหรือท้องเสียเป็นประจำ
          - อ่อนเพลียง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง
          - ในรายที่รุนแรงอาจมีอาการดีซ่าน (ผิวเหลือง และตาเหลือง) หรือคลื่นไส้ อาเจียน        
          - ตรวจพบค่าเอ็นไซม์ตับ SGPT, SGOT สูงขึ้น (แสดงว่าตับมีการอักเสบ)
          - ระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง

          แต่อย่างไรก็ตาม ระดับความรุนแรงของไขมันพอกตับไม่อาจวัดด้วยระดับความรุนแรงหรือจำนวนมากน้อยของอาการ เนื่องจากบ่อยครั้งไขมันพอกตับจนเป็นตับแข็งแล้วผู้ป่วยก็ยังไม่รู้สึกมีอาการ

          ไขมันพอกตับอันตรายเพียงใด

          - ทำให้ตับทำงานผิดปกติ
          ตับเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งในร่างกายและเป็นเสมือนโรงงานเคมีของร่างกายทำหน้าที่สำคัญหลายๆ อย่าง Si Ra Bo Do Ja Tu Sa Wo Sa To St Pa Pa Pa Pa Pa Pa No Br Ch Oa Am Da Tu Mo Bo Mi St Cu Cu Em Di Wu Ni Cu Th La Cu Cu No Ju Go He M Cu Am Am Fo Am Pa Me Me Bu Al Ip Vi Ch Tr Ni Fo Fi Mi Sa Ka Vi Ip We Cu A Sk We Co Fr Ty Wo Sa Fr To เช่น กักเก็บสารอาหารสังเคราะห์โปรตีน โคเลสเตอรอลและวิตามิน ผลิตน้ำดีเพื่อย่อยอาหารประเภทไขมัน ควบคุมการสันดาปของฮอร์โมน ผลิตสารที่นำเกล็ดเลือดไปห้ามเลือดเมื่อผนังหลอดเลือดได้รับบาดเจ็บและกำจัดสารพิษที่ตกค้างในร่างกาย ฯลฯ เมื่อมีเซลล์ไขมันจำนวนมากแทรกอยู่ในเซลล์ตับจะทำให้โครงสร้างภายในของตับแปรเปลี่ยนไปย่อมจะทำให้ตับทำงานผิดปกติและส่งผลกระทบทั่วทั้งร่างกาย

          - ส่งผลกระทบต่อผลการรักษาของโรคเรื้อรังต่างๆ
          ไขมันพอกตับใช่ว่าจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นมาเดี่ยวๆ หากแต่เป็นผลพวงของโรคประจำตัวต่างๆ เช่น เบาหวาน ตับขาดสารอาหาร ตับอักเสบจากไวรัส เป็นต้น ผู้ป่วยไขมันพอกตับจึงมักอยู่คู่กับโรคเรื้อรังหลายอย่างเช่น โรคอ้วน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจตีบ เกาต์ นิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น ไขมันพอกตับนอกจากไปเพิ่มความรุนแรงของโรคเรื้อรังเหล่านี้แล้ว ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลการรักษาของโรคเรื้อรังเหล่านี้ไม่ดีเท่าที่ควรและยากต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของตับให้กลับสู่ภาวะปกติ

          - อาจกลายเป็นตับแข็งในที่สุด

          หากไขมันพอกตับไม่มีการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้ ตับอักเสบและกลายเป็นตับแข็งในที่สุด

          ยาลดไขมันในเลือดสูงส่งผลกระทบต่อไขมันพอกตับอย่างไร...

          โคเลสเตอรอลในร่างกายคนเรา 80% ขึ้นไปสังเคราะห์จากตับ การใช้ยาแผนปัจจุบันเพื่อลดระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดเป็นประจำจะไปกดการทำงานของตับไม่ให้ปล่อยโคเลสเตอรอลเข้าไปในกระแสเลือด ทำให้ตับสำลักไขมันจนเกิดไขมันพอกตับได้ ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อลดการใช้ยาเป็นอีกวิธีสำคัญวิธีหนึ่งในการป้องกันและบรรเทาภาวะไขมันพอกตับได้

          การแพทย์จีนมีวิธีบำบัดอย่างไร...

          การแพทย์จีนได้จัดไขมันพอกตับให้อยู่ในกลุ่มโรคของปวดแน่นชายโครง และระบบการย่อยและการดูดซึมอาหารโดยเฉพาะไขมันบกพร่อง ซึ่งมีสาเหตุหลักเกิดจากการรับประทานอาหารหวานๆ มันๆ และแอลกอฮอล์มากเกินไป ทำให้ตับที่ทำหน้าที่ในการระบายพลังชี่ และม้ามที่ทำหน้าที่ในการดูดซึมอาหารผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการคั่งของพลังชี่และของเหลวข้น (เสมหะหรือไขมัน) ในตับ ทำให้การไหลเวียนของพลังชี่และเลือดในตับติดขัดจนทำงานผิดปกติ Vo Do Ip Bu Vi To Sa Fr Ra Er Vi Ba Mi Ji So To Bu Br Sh Ma M Ta To La St Ji Ic No Ma Ra La Sp A Ob Lo Un Wi Wi Va Ro Do Sh Ra Al El Re Le El Al Bo Ma Bo Ra Pa Fe Mi Ar No Da G Ip Tu Bo Mi Tr Cu Cu Cu Cu Cu Cu Er  โดยเฉพาะการสังเคราะห์โคเลสเตอรอลนานวันเข้าก็จะกลายเป็นไขมันพอกตับในที่สุด

          ถึงแม้ว่าพยาธิสภาพของไขมันพอกตับเกิดขึ้นที่ตับแต่จะส่งผลกระทบ

          โดยตรงต่อการทำงานของม้าม ถุงน้ำดีและกระเพาะอาหาร การแพทย์จีนจึงนิยมใช้วิธีบำบัดแบบองค์รวมดังนี้:

          - ระบายพลังชี่อั้นในตับ ทำให้พลังชี่และเลือดในตับไหลเวียนได้สะดวก ตับจึงกลับมาทำงานได้ปกติรวมทั้ง มีการสังเคราะห์ไขมันในปริมาณที่เหมาะสมด้วย
          - ฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของม้าม ทำให้มีการดูดซึมอาหารโดยเฉพาะไขมันได้ดีไม่ให้เกิดการสะสมในตับ

          ไขมันพอกตับจึงค่อยๆ ทุเลาลงหรืออาจหายไปในที่สุด..

No comments:

Post a Comment