Tuesday, August 11, 2015

ยุผู้สูงวัยให้ฟิต เริ่มออกกำลังเหมือนกับออมทรัพย์ไว้

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์การกีฬา แนะนำบรรดาผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะอยู่ในปูน 40, 50 หรือ 60 ปี ที่ไม่สนใจในการออกกำลังว่าควรจะเริ่มลงมือเสียแต่บัดนี้ เปรียบเหมือนกับการออมทรัพย์ไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณ แม้จะเริ่มต้นช้า แต่ก็ยังให้ดอกผลอย่างงดงาม

แพทย์แอนเจลา สมิธ อดีตคณบดีวิทยาลัยเวชศาสตร์การกีฬาอเมริกัน กล่าวว่า ถึงแม้ผู้ที่ยังไม่เคยทำเลย ก็ไม่ใช่ว่าจะสายเกินไป ยังสามารถไล่ตามความสมบูรณ์เข้มแข็ง ความแข็งแรงของกระดูก และความคล่องแคล่วว่องไว อันเป็นผลจากการออกกำลังแบบแอโรบิกได้ทัน ทั้งยังได้พบจากการศึกษาว่าแม้แต่ผู้ที่มีวัย 80-90 ปี ก็ยังสามารถเพาะกายให้แข็งแรงขึ้นอีกเท่าตัว โดยการเล่นลูกเหล็ก

หมอสมิธยังบอกเสริมว่า มีหลักฐานแสดงอย่างชัดแจ้งว่าแม้แต่ผู้เป็นโรคข้ออักเสบ หากแข็งแรงขึ้นก็จะปวดน้อยลง และผู้ที่มีความแข็งแรงสมบูรณ์ก็จะไม่ค่อยเป็นโรคมะเร็งด้วย

หมอยังชี้ว่า ต่อให้เคยเป็นนักกีฬาสมัยเป็นนักเรียน แต่ถ้าปล่อยตัวเองให้นั่งๆนอนๆ เมื่อล่วงเข้าวัยชรา ก็อย่าไปหวังว่าบุญเก่าจะช่วย บุญเก่าที่ทำไว้จะไม่เหลือ หลออยู่อีก Gi Mi Ip Mi Ga Ga Mu Ga Em Bu Fo Ju Ka Ch Un Ka Or Fo Fo Na No Sh No Ka Go A To Fl No Or Ba Ti Le Ad To St Ma Mi Na Fo Di Ac Vi Ma Ki Tr Ma Tr Ip Fe Ra Mi Mi Bp Sa Sa Ka Ca He Dk Sp Te Mi Bo Di Co Rv Ca To G Te Eu Pa Er  หากปล่อยตัวแบบนั้น ความอัศจรรย์ความแข็งแกร่งของกระดูกสมัยตอนอายุ 20 ปี จะหดหายไปอย่างรวดเร็ว หากว่ายังไม่ทำตัวให้กระฉับกระเฉงอยู่ คนวัย 40, 50 และ 60 ปี สามารถจะออกกำลังอย่างว่ายน้ำ เล่นน้ำหนัก และโยคะได้อย่างสบาย.

ควรดูแลสุขภาพในช่วงฤดูหนาวอย่างไร    

การดูแลสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะถ้าสุขภาพดีจะลดโอกาสการเจ็บป่วยลง โดยทั่วไปควรปฏิบัติ ดังนี้

1.  รักษา สุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพียงพอและครบหมู่  ดื่มน้ำมาก ๆ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอไม่ตรากตรำทำงานหนักจนเกินไป

2.  อยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเท ไม่เข้าไปในที่แออัดโดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่

3.  หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และยาเสพติดต่าง ๆ เนื่องจากอาจทำให้สุขภาพร่างกายเสื่อมโทรม มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย

4.  หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่ป่วยเป็นไข้หวัดอยู่  และไม่ควรใช้ของร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ จาน ชาม ช้อน

5.  ล้างมือบ่อย ๆ เนื่องจากอาจไปสัมผัสเชื้อโรคที่อยู่ตามสิ่งของต่าง ๆ เช่น ราวบันได ลูกบิดประตู  แก้วน้ำ เป็นต้น แล้วเผลอไปสัมผัสบริเวณหน้าได้ โดยล้างมือด้วยสบู่ธรรมดา 15-20 วินาที หรือใช้น้ำยาล้างมืออื่น ๆ

6.  รักษาร่างกายให้อบอุ่นในช่วงฤดูหนาวหรือช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง ในที่ที่หนาวมากควรสวมหมวกเพื่อลดการถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกาย

7.  หากเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ควรมีผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอจาม ไม่คลุกคลีกับผู้อื่นและหมั่นล้างมือบ่อย ๆ

8.  สำหรับปัญหาเรื่องผิวหนัง เราควรให้ร่างกายอบอุ่นอยู่ตลอดเวลา ใส่เสื้อผ้าหนา ๆ ถ้าอากาศหนาวมาก ไม่อาบน้ำนาน ๆ ในที่ที่หนาวมาก Te Te La Sh Ad Al Mo Te Ka Te Sa He Te Ke Ke Ki To Th Pa St To Oa Ju St Tr To Al Bo Ja Cu Tu Fo Vi Mz Lo St Jo Ka St Sa Te Ro Sa Co Fr Ol Au To We Te Bp La Br Ho Ho Hi Cr Br Fr He Hu Da Fi Ip Bi Ka Tu Bp No La Br Br Ma Am La Tr อาจไม่ต้องอาบน้ำวันละสองครั้งเหมือนฤดูอื่น หลังอาบน้ำควรทาโลชั่นหรือน้ำมันทาผิว  หลังจากเช็ดตัวหมาด ๆ  ในกรณีที่มีปัญหาริมฝีปากแตก ควรทาด้วยลิปสติกมันและไม่ควรเลียริมฝีปากบ่อย ๆ

            ทุกคนจึงควรหมั่นคอยดูแลสุขภาพให้ดีตลอดเวลาเพราะจะเป็นการป้องกันโรคที่คุ้มค่าที่สุด  และไม่มีใครรู้ว่าความเจ็บป่วยจะเกิดขึ้นกับตัวเราเมื่อไหร่  หากเมื่อเราป่วยอาจเป็นมากกว่าคนที่มีพื้นฐานสุขภาพที่ดี   สำหรับผู้ที่อายุยังไม่มาก ก็ควรดูแลสุขภาพให้ดีเช่นเดียวกัน เพราะสุขภาพที่ดีในตอนอายุยังน้อยจะเป็นเกราะป้องกันโรคตอนอายุมากขึ้น

No comments:

Post a Comment