กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เตือนฤดูหนาวเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุทางถนนในช่วงหมอกลงจัด มีสถิติการเกิดอัคคีภัยและไฟป่าสูงกว่าฤดูกาลอื่น พร้อมแนะประชาชนสวมใส่เสื้อผ้าหนา
สร้างความอบอุ่นแก่ร่างกาย พร้อมเพิ่มความระมัดระวังกิจกรรมเกี่ยวกับไฟเป็นพิเศษไม่ก่อกองไฟให้ความอบอุ่นในจุดเสี่ยงเพลิงไหม้ หลีกเลี่ยงการจุดไฟในป่า รวมถึงเปิดไฟตัดหมอกเมื่อขับรถผ่านเส้นทางหมอกลงจัด ไม่ขับรถเร็ว เว้นระยะห่างจากรถคันหน้าให้มากกว่าปกติ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ฤดูหนาวมีอากาศหนาวเย็น จึงเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเจ็บป่วยได้ง่าย รวมถึงมีสภาพอากาศแห้งและลมพัดแรง ทำให้มีสถิติการเกิดเพลิงไหม้ ไฟป่าสูงกว่าฤดูกาลอื่น อีกทั้งยังมีหมอกลงจัดปกคลุมทัศนวิสัยในการมองเห็นเส้นทาง จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนมากขึ้น เพื่อความปลอดภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขอแนะวิธีปฏิบัติเพื่อป้องกันภัยในช่วงฤดูหนาว ดังนี้
การเจ็บป่วย ประชาชนควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยสวมใส่เสื้อผ้าหนาๆ โดยเฉพาะบริเวณศีรษะ คอ ทรวงอก พร้อมสวมถุงมือและถุงเท้า เพื่อสร้างความอบอุ่นแก่ร่างกาย หมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ จะช่วยป้องกันการเจ็บป่วยในช่วงฤดูหนาว พร้อมดูแลกลุ่มเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว ทำให้เจ็บป่วยได้ง่ายและเสี่ยงต่อการเป็นโรคแทรกซ้อน หากเจ็บป่วยจะมีอาการรุนแรงกว่าคนทั่วไป
ที่สำคัญ ไม่ควรดื่มสุราแก้หนาว เนื่องจากในช่วงแรกร่างกายจะรู้สึกร้อนวูบวาบ จากนั้นอุณหภูมิร่างกายจะลดต่ำกว่าปกติและสูญเสียความร้อนเร็วขึ้น หากดื่มในปริมาณมากจนเมาและเผลอหลับโดยไม่ห่มผ้าหรือสวมเสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่นเพียงพอ อาจทำให้เสียชีวิตได้ รวมถึงไม่นอนในที่โล่งแจ้งโดยไม่มีสิ่งปกคลุมร่างกาย เพราะความเย็นจะทำให้หัวใจต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายอย่างหนัก ส่งผลให้เกิดอาการช็อกเสียชีวิตได้
อัคคีภัย โดยเพิ่มความระมัดระวังในการประกอบกิจกรรมเกี่ยวกับไฟเป็นพิเศษ ไม่เผาขยะ ไม่ทิ้งก้นบุหรี่ลงบนพงหญ้าแห้ง ใกล้แหล่งเชื้อเพลิงและบริเวณบ้าน เพราะฤดูหนาวมีสภาพอากาศแห้ง ลมพัดแรง เมื่อเกิดเพลิงไหม้ไฟจะลุกลามอย่างรวดเร็วและยากต่อการควบคุม Bo
An
An
Re
Ko
Ma
Am
Ch
Na
Bo
Mi
Ma
Mi
Tr
Ca
Na
Ni
Do
Br
Br
Br
To
Li
Em
Di
Pe
Ca
L
Me
Vi
Bu
Da
Da
Da
Da
Da
Da
Da
Da
Da
Da
Da
Da
Da
Da
Da
Da
La
Da
Da
Da
Da
Da
Fl
Tr
Da
Cu
Cu
A
Pa
Da
La
Ma
Li
Fr
Er
Da
Wu
Wu
Me
Nu
Ni
Da
Ca
Fo ไม่ก่อกองไฟให้ความอบอุ่นในจุดเสี่ยงเพลิงไหม้ โดยเฉพาะบริเวณบ้านและในบ้าน รวมถึงใกล้แหล่งเชื้อเพลิง เช่น กองไม้ กองฟาง ผ้าห่ม ที่นอน เป็นต้น เพราะอาจทำให้เพลิงไหม้บ้าน หากเผลอหลับอาจถูกไฟคลอกเสียชีวิต
กรณีก่อกองไฟควรใช้น้ำราดดับไฟให้สนิททุกครั้ง ไฟป่า ประชาชนที่อาศัยบริเวณแนวชายป่าควรเก็บกวาดใบไม้แห้ง วัชพืชบริเวณรอบบ้านให้โล่งเตียน ไม่ให้กองสุมเป็นเชื้อเพลิง ไม่เผาขยะหรือหญ้าแห้งใกล้แนวชายป่า ไม่เก็บหาของป่าหรือล่าสัตว์โดยการจุดไฟ เพราะหากเกิดเพลิงไหม้อาจลุกลามเป็นไฟป่า
รวมถึงจัดทำแนวกันไฟป้องกันไฟลุกลามไหม้พื้นที่ใกล้เคียง นักท่องเที่ยวควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟในป่า ไม่ทิ้งก้นบุหรี่ลงบนพงหญ้าแห้ง เพิ่มความระมัดระวังในการก่อกองไฟ หากก่อกองไฟใกล้แนวชายป่าและในป่า ควรดูแลใกล้ชิดและดับไฟให้สนิททุกครั้ง
อุบัติเหตุทางถนน ผู้ขับขี่ควรเพิ่มความระมัดระวังในการขับรถผ่านเส้นทางที่มีหมอกลงจัดและควันไฟปกคลุมเป็นพิเศษ โดยเปิดไฟหน้ารถ ไฟตัดหมอก ไม่ขับรถเร็ว เว้นระยะห่างจากรถคันหน้าให้มากกว่าปกติ
ไม่เปลี่ยนช่องทางจราจรกะทันหัน ไม่ขับแซงในระยะกระชั้นชิด กรณีหมอกลงจัดจนมองเห็นเส้นทางไม่ชัดเจน ควรจอดรถในบริเวณที่ปลอดภัย เช่น ที่พักริมทาง สถานีบริการน้ำมัน เป็นต้น รอจนหมอกบาง จึงค่อยขับรถไปต่อ ทั้งนี้ การเรียนรู้วิธีปฏิบัติตนอย่างปลอดภัย จะช่วยป้องกันและลดผลกระทบจากภัยในช่วงฤดูหนาว
คันเรื้อรัง เสี่ยงเป็นโรคไต-ตับ
งดการฟอกสบู่บ่อยๆ อาบน้ำร้อนจัด
แพทย์ผิวหนังเผยอาการคัน ร้อยละ 10-50% อาจเกิดจากป่วยเป็นโรคไตกำเริบคันกลางคืน โรคตับ คันมือเท้า โรคเลือด-เบาหวาน คันทวารหนัก อวัยวะเพศ มะเร็งคันมากแขน หน้าแข้ง แนะผู้ป่วยคันเรื้อรัง ดูแลผิวไม่ให้แห้ง งดฟอกสบู่บ่อยๆ หรืออาบน้ำร้อนจัด และลดความเครียด ป้องกันอาการกำเริบ
วันที่ 4 ตุลาคม นพ.ประวิตร พิศาลบุตร แพทย์โรคผิวหนัง อดีตนักวิจัยสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า อาการคันตามผิวหนังอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการคันร้อยละ 10-50 จะตรวจพบว่ามีโรคทางกายภายในที่เป็นสาเหตุของอาการคันร่วมด้วย เช่น ในผู้ป่วยโรคไต อาการคันมักกำเริบเวลากลางคืน หรือระหว่างทำการฟอกไต หรือเพิ่งทำเสร็จ และมักมีผิวแห้งทั่วไป ผู้ป่วยโรคตับมักคันมากที่มือและเท้า Ca
Da
Da
Da
Da
Ki
Ki
Sh
Sh
Ic
Bu
Va
Ko
Sa
Co
Gi
Sh
Tu
Oa
Bu
Co
Ka
Ve
Bc
Bc
Sh
Sh
Da
Al
Bo
Ra
Ka
To
La
So
Ch
Al
Go
Go
Go
Mo
Bu
Sk
Ma
La
Si
Ma
Gi
Da
Ke
Ba
An
Fr
Da
Ma
Mi
Ga
Ra
Sa
Go
Fo
M
Sh
Fo
La
Dk
Ni
Ch
An
Go
Ha
Ha
Ka
Pa
Pa และตำแหน่งที่สวมเสื้อผ้ารัดรูป, อาการคันจากโรคเลือด มักคันเฉพาะที่ ซึ่งมักเป็นที่บริเวณรอบทวารหนัก และที่อวัยวะเพศหญิง ในโรคเลือดบางอย่างอาจคันหลังสัมผัสน้ำ อาการคันจากโรคต่อมไร้ท่อ มักเป็นทั่วร่างกาย ผู้ป่วยเบาหวานบางรายอาจคันเฉพาะที่ พบบ่อยที่อวัยวะเพศหญิง หรือทวารหนัก อาจมีการติดเชื้อยีสต์และเชื้อราร่วมด้วย อาการคันในมะเร็ง มักคันรุนแรงปานกลางถึงคันมาก มักคันที่แขนด้านนอกและหน้าแข้ง
นพ.ประวิตร กล่าวว่า ในกรณีที่คันจากโรคภายในผู้ป่วยจะมีผิวปกติ หรือมีรอยแกะเกาตุ่มนูนจากการเกา, ผิวหนาเหมือนเปลือกไม้ หรือมีการติดเชื้อที่ผิวหนัง ผู้ป่วยอาจมีอาการแสดงลักษณะผีเสื้อ (butterfly sign) คือมีบริเวณผิวหนังสีจาง หรือสีผิวปกติที่กลางหลัง และมีผิวสีเข้มหรือ รอยเกาอยู่รอบนอกตามบริเวณที่เอื้อมมือเกาได้ถึง
สำหรับผู้ป่วยโรคคันเรื้อรัง แพทย์อาจส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจเลือด ตรวจหาระดับน้ำตาล ตรวจอุจจาระ ขูดผิวหนังเพื่อหาเชื้อ และตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา ผู้ป่วยที่มีอาการคันมากอาจนอนไม่หลับทำให้สุขภาพทรุดโทรม ดังนั้น ผู้ป่วยที่คันเรื้อรังควรดูแลไม่ให้ผิวแห้ง เช่น ทาครีมให้ความชุ่มชื้น, งดการฟอกสบู่บ่อยๆ, งดการอาบน้ำร้อนจัด, หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้าระคายเคืองผิวง่าย และลดความเครียด เพราะความเครียดทำให้อาการคันกำเริบ
No comments:
Post a Comment