เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากมีจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี และมีเพียงร้อยละ 50 ของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจวินิจฉัย
ภัยเงียบ... โรคเบาหวาน
จากข้อมูลล่าสุดของ สหพันธ์เบาหวานนานาชาติ พบว่า จำนวนผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกยังเพิ่มขึ้น ขณะนี้ทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวานมากกว่า 371 ล้านคน รวมถึงประเทศไทย และที่โรงพยาบาลศิริราช แต่ละปีมีผู้ป่วยใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เท่านั้นไม่พอ ยังพบในคนอายุน้อยลง น้อยที่สุดเป็นเด็กอายุ 2-3 เดือน และเบาหวานชนิดที่ 2 ที่พบในผู้ใหญ่
ปัจจุบันกลับพบในเด็กวัย 8-9 ขวบที่น้ำหนักเกิน ซึ่ง 1 ใน 3 ของเด็กและวัยรุ่นที่อ้วน พบว่า เริ่มมีการเผาผลาญน้ำตาลผิดปกติ และตรวจพบระดับน้ำตาลสูงเข้าเกณฑ์เป็นเบาหวานร้อยละ 4 ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้แสดงอาการ คาดว่าหากไม่ดำเนินการใดๆ ในปี 2573 ผู้ป่วยเบาหวานจะเพิ่มขึ้นเป็น 552 ล้านคน โดยร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดเป็นประชากรในประเทศด้อยพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนา
ดังที่ทราบโดยทั่วกันว่า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดำรงชีวิต เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้พบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม โรคบาหวานสามารถป้องกันได้ โดยการดูแลสุขภาพตนเอง อย่าให้น้ำหนักตัวมากเกิน ดำรงชีวิตด้วยหลัก3 อ.2 ส.
1. อ.แรก อาหาร เลือกรับประทานอาหารไม่หวานจัด มันน้อย เค็มน้อย รับประทานปริมาณเหมาะสมมีผักและผลไม้พอเหมาะ ตามพลังงานที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน ในผู้ใหญ่ 1,600-2,000 กิโลแคลอรีต่อวัน และในเด็ก จำนวนพลังงานจะสัมพันธ์กับอายุ ซึ่งควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง
2. อ.สอง ออกกำลังกาย ประมาณ 50-60 นาที อย่างน้อย 3 วัน ต่อสัปดาห์ หรือให้ได้ 150 นาทีต่อสัปดาห์
3. อ.สาม อารมณ์ ไม่ตึงเครียด จัดการความเครียดอย่างเหมาะสม ทำจิตให้สงบ มีสมาธิ
4. ส.แรก งดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงจากสถานที่ที่มีควันบุหรี่
5. ส.สอง งดดื่มสุรา
สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงแนะนำ ควบคุมน้ำหนักให้คงที่ ถ้าน้ำหนักเกิน ให้ลดลง 5-10% ของน้ำหนักเดิม ปฏิบัติตาม3 อ.2 ส. Th
Ca
Mi
Ma
Ka
Lu
Ps
Bo
Da
Da
Ti
No
Ba
Ba
Ba
Bo
Ba
Le
An
To
Ja
Cu
No
Ve
Ra
Ma
Ce
Mi
Cu
Ar
Sj
Ka
No
He
Al
Vo
Da
L
So
Ni
L
Cr
In
He
Al
Ri
Sk
Ka
Ho
Lu
To
Lu
Vi
L
Te
Re
Ca
Ji
Ch
Ei
Ji
So
Ar
A
Ba
An
Pi
Ka
To
Ho
Di
Ro
La
La
Il
Lo
El
El และควรตรวจหาว่าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ทุกปี เพราะการรักษาระยะเริ่มแรกทำได้ง่าย และเมื่อควบคุมได้จะเกิดประโยชน์สูงสุดคือ ไม่เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้น ส่วนผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ต้องทำความรู้จักและเข้าใจโรค ปฏิบัติตาม3 อ.2 ส.
โดยมีเป้าหมายเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือใกล้เคียงปกติ ด้วยการใช้ยากินและการฉีดอินซูลินควบคู่ไปกับการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและไม่ประมาท รวมถึงควรตรวจประเมินระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ ให้เกิดความเข้าใจค่าระดับน้ำตาลปกติ-สูง-ต่ำที่เกิดตามมาหลังกินอาหาร หรือทำกิจกรรมบางอย่างหรือทั้งสองอย่าง ทำให้เกิดความสมดุลทั้งในด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย และการใช้ยารักษา
ตรงกันข้ามหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ในระยะยาวจะส่งผลต่อเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย ทั้งหลอดเลือด
ระบบประสาทส่วนปลาย และอวัยวะอื่นๆ อันนำไปสู่ภาวะแทรก ซ้อนที่เกิดกับตา ไต เส้นประสาทและสมอง หัวใจ หรือที่เท้ารวมทั้งแผลเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้เกิดความพิการทาง ร่างกายและผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน และที่รุนแรงกว่านั้นคือ การสูญเสียชีวิต
วัคซีน สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
ปัจจุบันมีวัคซีนอยู่หลายชนิดด้วยกัน ซึ่งหญิงตั้งครรภ์ควรได้รับ เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยทั้งคุณแม่และลูกน้อยโดยปกติคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกรายควรได้รับวัคซีนตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ แต่มีบางรายที่ไม่เคยรับวัคซีนมาก่อนที่จะตั้งครรภ์ ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะติดโรค ซึ่งวัคซีนที่แนะนำให้ฉีดมีดังนี้
1.วัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก เป็นวัคซีนที่จำเป็นสำหรับหญิงตั้งครรภ์ทุกคน ถึงแม้ว่า หญิงตั้งครรภ์ผู้นั้นจะเคยได้รับวัคซีนมาก่อนก็ตาม โดยช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการฉีดเพื่อให้ภูมิคุ้มกันไปสู่ลูกได้มากที่สุดคือ ขณะอายุครรภ์ 27-36 สัปดาห์ เป็นวัคซีน 3 ชนิด ที่ฉีดพร้อมกันใน 1 เข็ม สาเหตุที่ต้องฉีด เพราะขณะนี้โรคคอตีบได้กลับมาระบาดอีก El
Ar
Ra
No
Ra
Mi
Ju
Le
Ra
Sk
Do
Ju
La
Ec
Br
To
So
Jo
Fo
Gl
Ju
Go
An
Ol
To
Me
Ra
Ma
Ma
Ma
Ca
Sh
No
Ma
Ca
Ma
Ca
M
Ca
So
Bu
St
Sa
Ho
Lo
Ka
Da
Al
Ba
Go
Lo
Ta
Ch
No
Ik
Ch
Mi
Vi
Vi
Tu
Fi
Te
Fi
Re
To
Tu
Ji
Ip
Ta
Ki
Sa
Mo ในรายที่รุนแรงอาจทำให้แม่และลูกในท้องเสียชีวิตได้ ส่วนโรคไอกรน พบว่าลูกที่ป่วยเป็นโรคไอกรนจะติดเชื้อมาจากแม่ ถ้าฉีดให้แม่ก็จะป้องกันให้ลูกที่คลอดออกมาได้ประมาณ 6 เดือน และวัคซีนป้องกันบาดทะยัก จะช่วยป้องกันการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์และคลอดบุตรด้วย
2.วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากเป็นโรคที่ทำอันตรายกับคนท้องมากกว่าคนธรรมดา หากเป็นแล้วจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดบวม เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หัวใจวาย วัคซีนนี้ฉีด 1 เข็ม ป้องกันได้ 1 ปี
3.วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ในรายที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่เคยฉีดวัคซีนดังกล่าว หรือเจาะเลือดแล้วไม่มีภูมิต้านทาน โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ที่มีโอกาสเสี่ยง เช่น สามีเป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบบี ก็อาจจะรับการฉีดวัคซีนนี้ได้
4.หากคุณแม่ตั้งครรภ์ถูกสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด ถ้าไม่แน่ใจว่าสุนัขจะบ้าหรือไม่ ให้ฉีดวัคซีนทันที
นอกจากนี้ยังมีวัคซีนหลายชนิดที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรทราบ โดยเฉพาะวัคซีนที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ได้แก่ วัคซีนป้องกันอีสุกอีใส ไข้สมองอักเสบ หัด คางทูม หัดเยอรมัน โปลิโอ วัณโรค เพราะวัคซีนเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์สามารถสอบถามรายละเอียดได้จากแพทย์ที่ดูแลการตั้งครรภ์
No comments:
Post a Comment