Tuesday, August 11, 2015

เรื่องฟันฟัน กับ กลิ่นปาก

กลิ่นปาก เป็นปัญหาที่พบได้ปกติของคนทั่วไป ก่อให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจ ขาดความมั่นใจในการเข้าสังคม และส่งผลระยะยาวต่อสภาวะจิตใจ

โดยทั่วไปกลิ่นปากทำให้เกิดความรำคาญเพียงชั่วคราวเท่านั้น จัดเป็นกลิ่นปากทางกายภาพ (physiologic halitosis) เกิดจากกระบวนการย่อยสลายปกติภายในช่องปาก เช่น กลิ่นปากหลังตื่นนอนในเวลาเช้า เป็นต้น แต่ถ้าอาการกลิ่นปากนั้นคงอยู่นาน เป็นอยู่อย่างเรื้อรัง แสดงว่า อาจมีโรคหรือความผิดปกติเกิดขึ้น (pathologic halitosis)

การเกิดกลิ่นปากมาจาก 2 สาเหตุใหญ่ คือ 1.สภาพภายนอกช่องปาก พบน้อยเพียงร้อยละ 10 ส่วนใหญ่เป็นปัญหามาจากความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ หรือระบบทางเดินอาหารส่วนบน เช่น โรคไซนัสอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ โรคกรดไหลย้อน เป็นต้น 2.สภาพภายในช่องปาก เป็นสาเหตุหลักของการเกิดกลิ่นปาก ร้อยละ 90 เกิดจากการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย

โดยเฉพาะแบคทีเรียแกรมลบที่ไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งมักพบที่ร่องลึกปริทันต์ คราบจุลินทรีย์บนตัวฟันและลิ้น ย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆ ที่อยู่ภายในช่องปาก โดยเฉพาะคราบโปรตีน เกิดสารระเหยที่มีกลิ่นเหม็นขึ้น คราบจุลินทรีย์บนลิ้น (ฝ้าสีขาว) Il Ni Be Wi Ca Br Li Be Co Fl Ma Re El El Tu Sa Bp Bu Ra To Ba Ra Fr Fr To Sp Da Vi Ma Na Fo An Sk Pe Kw Ja Us Mi Em Cu Cu Cu Cu Cu Cu Mi Ta Bo Ma To St To Bo Da No Ta Ni La Ma Mu To Jo Pe Ni La Ip Br Bo Pa Bo Ma   เป็นสาเหตุของกลิ่นปากส่วนใหญ่ที่เกิดจากภายในช่องปาก เนื่องจากพื้นผิวของลิ้นเป็นร่องซอกที่ทำให้เกิดสภาวะที่มีออกซิเจนน้อย เหมาะกับการสะสมและเจริญของแบคทีเรียกลุ่มนี้ ร่องซอกของลิ้นยังช่วยปกป้องแบคทีเรียจากการชะล้างของน้ำลาย นอกจากนี้ ลิ้นยังสามารถรับสารอาหารที่ผ่านเข้ามาในช่องปากได้ง่าย ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะถูกย่อยสลายเกิดก๊าซที่มีกลิ่นเหม็นขึ้น

ถ้าสงสัยว่ามีกลิ่นปาก หรือมีผู้อื่นทัก ควรไปพบทันตแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย เพื่อหาทางกำจัด รักษา

กลิ่นปาก มีสาเหตุหลักมาจากเชื้อแบคทีเรียภายในช่องปาก ดังนั้น แนวทางการรักษากลิ่นปาก คือ ลดจำนวนเชื้อที่เป็นสาเหตุลง โดยการดูแลสุขอนามัยช่องปากอย่างดี เน้นการทำความสะอาดทั้งฟันและลิ้น ไม่ลืมใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดซอกฟัน กำจัดรักษาปัญหาหรือพยาธิสภาพภายในช่องปากที่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อ เช่น ฟันผุ วัสดุอุดฟันที่มีสภาพไม่ดี โรคปริทันต์อักเสบ เป็นต้น เลือกกินอาหารที่เหมาะสม เน้นผักและผลไม้ ดื่มน้ำเปล่าอย่างเพียงพอ ร่วมกับดูแลสุขภาพร่างกายโดยรวม ไม่เครียด พักผ่อนอย่างเพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรง

เสียงดังกับการตั้งครรภ์

ช่วงนี้มีการชุมนุมตามที่ต่างๆ มากมาย สตรีตั้งครรภ์บางคนก็อดไปร่วมกับเขาไม่ได้ หรืออาจร่วมแบบจำยอม และกลับมาวิตกกังวลกับภาวะของทารกในครรภ์ สิ่งที่น่ากังวลนอกจากเรื่องการอยู่ในที่แออัด การติดเชื้อ โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจแล้ว ก็คือ เรื่องของเสียงดัง ในยุคนี้ต้องยกให้ นกหวีด

ปกติทารกในครรภ์นั้น หูชั้นในที่ทำหน้าที่ในเรื่องการได้ยินจะเริ่มพัฒนาในเดือนที่ 4 และพัฒนาการสมบูรณ์เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 24 สัปดาห์ เมื่ออายุครรภ์ 27-30 สัปดาห์ ทารกในครรภ์จะสามารถตอบสนองต่อเสียงจากภายนอก แต่แน่นอน จะไม่เหมือนเสียงจริง เพราะถูกกรองด้วยน้ำคร่ำรอบตัวทารก

นอกจากนั้น เยื้อแก้วหูและหูชั้นกลางที่แช่อยู่ในน้ำ (คร่ำ) ของทารก จะไม่สามารถทำหน้าที่ขยายเสียงได้ตามปกติ จึงทำให้เสียงที่ทารกไม่ดังมากนัก พบว่า เสียงดังส่งผลในแง่ของการบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยินของทารกในครรภ์น้อย หากไม่ดังเกิน 90 เดซิเบล และฟังนานเกิน 8 ชั่วโมง เป็นเวลานาน

สำหรับผลต่อของเสียงต่อทารกในครรภ์ในเรื่องอื่นอาจมีความกังวลเรื่องเสียงดัง ทำให้ทารกเกิดความผิดปกติ เพราะมีรายงานลักษณะดังกล่าวในสัตว์ทดลอง เสียงที่ใช้ในการศึกษาถึงผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ จะเป็นเสียงที่เกิดในโรงงานอุตสาหกรรม  Bo Br Vi Cu Ma Wu Fa Ra Al Ja Sp Pa Al Gh Br Br Fo An Ar Mu Mi Lu Ju M Cu Am Am Bu Fo Bo Ka Am Vi Br Kw La Me Ni Di Ma Vi Ma Cu Fr He Hu Pa Ke Mo Sc Jo Ko Oa Cu Me Me An Ro Tu We Ke To Do Sp Me Di Er Me Fr Da Wi Tu L Be Th St Ax Ch He กับเสียงจากเครื่องบินขึ้นลงตามสนามบิน คือ ศึกษาในสตรีตั้งครรภ์ที่ทำงานอยู่ในโรงงาน หรือ อีกพวกคือ พักอาศัยอยู่ใกล้สนามบิน มีการศึกษาบางงานพบว่า สตรีตั้งครรภ์ที่ทำงานอยู่กับเสียงดัง ทุกวัน เสี่ยงต่อการเกิดการคลอดก่อนกำหนดเพิ่มชึ้น แต่บางรายงานก็ไม่พบดังกล่าว

กล่าวโดยสรุป อาจต้องศึกษาเกี่ยวกับผลของเสียงดังต่อทารกในครรภ์เพิ่มเติม โดยควบคุมตัวแปรดีๆ เพื่อให้ทราบว่ามีผลเสียจริงหรือไม่เพียงใด

อย่างไรก็ดี ถ้าเป็นไปได้สตรีตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในที่ที่มีเสียงดังมากกว่า 90 เดซิเบล เป็นระยะเวลานานและติดต่อกันหลายวัน การป้องกันตนเองด้วยการใช้สำลี หรือ ear plug อุดหู อาจช่วยป้องกันปัญหาการได้ยินเฉพาะตัวสตรีตั้งครรภ์เท่านั้น แต่ไม่ได้ป้องกันทารกในครรภ์

No comments:

Post a Comment