Tuesday, August 11, 2015

โรคยอดฮิต ความดันโลหิตสูง และ เบาหวาน

จากการที่ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมโรงพยาบาลเกือบทั่วประเทศ รวมทั้งโรงพยาบาลชุมชน (อำเภอ) ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ผมแปลกใจมากที่ได้รับทราบว่าโรคลำดับต้น ๆ ที่โรงพยาบาลไม่ว่าจะอยู่ในถิ่นแร้นแค้นแค่ไหนพบมาก คือ โรคความดันโลหิตสูง (hypertension) และโรคเบาหวาน (diabetes mellitus) ที่ผมแปลกใจก็เพราะทั้ง 2 โรคนี้มักจะเกิดในผู้ที่มีอันจะกิน มักเป็นโรคที่พบในเมือง ไม่น่าจะใช่ในชนบท พบในประเทศที่เจริญแล้ว ในประเทศที่มีคนอ้วนมาก ๆ เช่น อังกฤษ อเมริกา แต่ปรากฏว่าคนไทยที่มีฐานะยากจน ที่ไม่อ้วนก็ยังเป็นโรคนี้

ผมจึงอยากประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนชาวไทยทุก ๆ คน (ถ้าเป็นไปได้) ได้รู้จัก 2 โรคนี้ รู้จักป้องกันตนเองไม่ให้เป็นโรคนี้ หรือถ้าเป็นแล้วรู้จักวิธีดูแลตนเอง ผ่อนหนักให้เป็นเบา ก่อนอื่นคงต้องบอกว่าโรคนี้มีส่วนที่เป็นกรรมพันธุ์ ถ้าบิดามารดาเราเป็นโรค 2 นี้ เรามีสิทธิเป็นมากกว่าผู้ที่บิดามารดาไม่เป็นโรคนี้ ประเด็นที่สำคัญ คือ ครึ่งหนึ่งของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงไม่มีอาการ บางครั้งกว่าจะรู้สึกก็เลือดออกในสมองเป็นอัมพาตไปแล้ว ฉะนั้นทุกท่านถ้ามีโอกาสควรไปวัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละครั้ง โดยเฉพาะถ้าอายุ 40 ปีขึ้นไป ถ้าความดันโลหิตของท่านสูง

วิธีการรักษาง่าย ๆ มีอยู่ 3 อย่าง คือ
หนึ่ง ควบคุมการรับประทานอาหาร
สอง การออกกำลังกาย และ
สาม ทานยาตามแพทย์แนะนำ

ทั้งโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เมื่อเป็นแล้วไม่หายขาด จะต้องได้รับการรักษาไปตลอดชีวิต แต่ชีวิตท่านอาจจะยืนยาวเหมือนไม่เป็นโรค ถ้าท่านดูแลสุขภาพของท่าน อาการของโรคเบาหวาน คือ ดื่มน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย (ถึงแม้ไม่ดื่มน้ำ) ทานจุแต่ผอม เพราะร่างกายจะปล่อยน้ำตาลออกมาในปัสสาวะ ทำให้ร่างกายต้องปล่อยน้ำ (ปัสสาวะ) ออกมาเพื่อละลายน้ำตาลในปัสสาวะด้วย ถ้ามีอาการบางอย่างดังที่กล่าว โดยเฉพาะถ้าคุณพ่อคุณแม่เป็นเบาหวานควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเลือดดู

แต่ผมอยากให้ประชาชนทุกท่านวางแผนป้องกันการเกิดโรคทั้ง 2 ด้วยวิธีง่าย ๆ คือ ออกกำลังกาย ควบคุมอาหารโดยมีเป้าหมายว่าขอให้ดัชนีมวลกายของแต่ละท่านอยู่ระหว่าง 18.5 - 23 ดัชนีมวลกาย หรือ body mass index, BMI คือ น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมหารด้วยความสูงเป็นเมตรกำลังสอง การออกกำลังกายที่ดีต่อสุขภาพ คือ การเดินเร็ว ๆ วิ่ง ว่ายน้ำ ถีบจักรยาน เต้นแอโรบิก ฯลฯ ครั้งละ 30-60 นาที อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือทุกวันถ้าได้ โดยออกกำลังให้เหงื่อออก (ถ้าอยู่ข้างนอก) หอบเล็กน้อยก็พอแล้ว แต่ถ้าวัดชีพจรได้ก็ให้ชีพจรเต้น 70% ของ (220 - อายุปี ซึ่งก็คือความสามารถสูงสุดที่หัวใจจะเต้นได้)

การรับประทานอาหารที่ถูกหลักแบบง่าย ๆ คือ การทานหนักไปทางพืช ผัก ถั่ว เห็ด เต้าหู้ ปลา ไก่ (ไม่กินหนัง) เป็นหลัก ไม่ทานข้าวมาก หลีกเลี่ยงกะทิ หนังสัตว์ มันสัตว์ เครื่องใน ไข่แดง ของหวาน น้ำตาล น้ำหวาน ถ้าประชาชนทั้งประเทศเพียงแต่คุม BMI ให้อยู่ต่ำกว่า 23 ประเทศไทยจะประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค 2 โรคนี้และโรคอื่น ๆ เป็นแสนล้านบาทต่อปี ทุกท่านต้องดูแลตนเองครับ อย่าปล่อยตัวเองแล้วต้องไปพึ่ง 30 บาท ประกันสังคม หรือ ราชการ เลยครับ แพงมากและไม่ดีเท่าการไม่เป็นโรคครับ

อาหาร 7 อย่างที่พึงเลี่ยงเมื่อท้องว่าง    

เมื่อคนมันหิว อะไรใกล้มือก็มักจะคว้าเข้าปากกันไปก่อน ใครมีนิสัยอย่างนี้ขอให้ ลองปรับตัวเสียใหม่
เพราะอาหารบางอย่างอาจเป็นเมนูที่ไม่ ค่อยเหมาะกับร่างกายในยามนั้นได้7 เมนู ที่ควรหลีกเลี่ยงยามท้องว่าง ที่จะนำมาบอกกล่าวในครั้งนี้ นำมาจากคอลัมน์สุข กาย ในจดหมายข่าวสร้างสุข ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ( สสส.) เดือนพฤษภาคม 2550 มีรายการดังต่อไปนี้

1. เหล้า กระเทียม ทั้งสองอย่างนี้จะยิ่งกระตุ้นเยื่อบุกระเพาะอาหาร ส่งผลให้เป็นโรคกระเพาะอาหาร อักเสบ และเป็นแผลในกระเพาะอาหารได้
2. น้ำตาลหรืออาหารหวาน เช่น น้ำอัดลม ลูกอม ช็อกโกแลต เพราะจะทำให้โปรตีนรวมตัวกับน้ำตาล ส่งผลต่อการ ดูดซึมโปรตีนทุกชนิด และลดสมรรถภาพการทำงานของระบบหมุนเวียนเลือดและไต
3. ชาแก่ จะทำ ให้กรดเกลือของน้ำย่อยในกระเพาะอาหารเจือ จาง เกิดอาการใจสั่น เวียนศีรษะ มือเท้าไม่ มีแรง
4. ลูกพลับ เป็นตัวกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดเกลือออกมามาก ทำให้เจ็บหน้าอก คลื่นไส้ และเป็นแผลในกระเพาะอาหาร
5. กล้วย เพราะจะเพิ่มธาตุแมกนีเซียมในเลือดให้สูงขึ้น ทำให้สูญเสียสัดส่วนของแคลเซียม และแมกนีเซียม Dk In Ar Em Go เป็นการยับยั้งการทำงานของหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นอันตรายต่อ สุขภาพอย่างมาก
6. ผัก เพราะหากรับประทานผักอย่างเดียวขณะท้องว่าง จะทำให้ท้องอืด
7. นมและถั่วเหลือง แม้จะอุดมด้วยโปรตีน แต่จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อกระเพาะอาหารมีสารประเภท แป้งอยู่
แถมท้ายอีกนิดว่า ขณะท้องว่างไม่ควรอาบน้ำและออกกำลังกาย เพราะอาจทำให้เกิด อาการช็อกได้ง่าย เนื่องจากน้ำตาลในเลือดต่ำ

วิตามินซี เพื่อสุขภาพ    

มาทำความรู้จักกับวิตามินซี กับบทบาทสำคัญ ... คุณสมบัติที่โดดเด่นของวิตามินซี ก็คือ ความเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant) นั่นเอง โดยประโยชน์หลักๆ เมื่อร่างกายได้รับวิตามินซีเป็นประจำ คือ เพิ่มภูมิต้านทานแก่ร่างกาย ป้องกันการก่อตัวของเซลล์มะเร็ง บำรุงผิวพรรณหรือชะลอความแก่ ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันหรือเหงือกอักเสบ ในทางกลับกัน หากร่างกายเราขาดวิตามินซี หรือมีปริมาณวิตามินซีน้อยเกินไป อาจส่งผลทำให้เกิดอาหารเหล่านี้ได้
- เป็นหวัดง่าย ภูมิต้านทานโรคและความสามารถในการกำจัดพิษลดลง
- ผิวหนังขาดความยืดหยุ่น เกิดจุดด่างดำ ฝ้า มีเลือดออกตามไรฟัน
- อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง ประสาทสัมผัสด้อยลง
- มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะ ตับ และส่วนอื่นๆ
- ประสิทธิภาพของต่อมหมวกไตลดลง เป็นภูมิแพ้ได้ง่าย
- เป็นโรคโลหิตจาง หรือโรคต่างๆ ง่าย บาดแผลหายยาก หากขาดมากจะเป็นโรค โลหิตเป็นพิษ
- เกิดโรคลักปิดลักเปิด

สำหรับผู้ที่กำลังกลุ้มใจ เพราะไม่รู้ว่าจะหาวิตามินซีมาทานได้จากที่ไหน ... อยากจะบอกว่า ความจริงแล้วแหล่งของวิตามินซี เราสามารถหาได้จาก อาหารที่มีอยู่ในธรรมชาติทั่วไป แต่แหล่งที่มีมาก คือ ผักสดและผลไม้ต่างๆ โดยเทียบง่ายๆ จากประเภทของอาหาร (100 กรัม) และวิตามินซี (มิลลิกรัม)
ดังนี้ มะขามป้อม 276, ฝรั่ง 160, พุทรา 154, มะขามเทศ 133, มะปรางสุก 107, มะละกอสุก 73,แคนตาลูป 33, มะนาว 25 และมะยม 8

อย่างไรก็ตาม พึงตระหนักไว้ว่าวิตามินซี
เป็นวิตามินที่มีความสำคัญเช่นเดียวกับวิตามินอื่นๆ และร่างกายไม่สามารถผลิตขึ้นได้เอง ดังนั้น ทุกคนจึงควรบริโภควิตามินซี แต่จะมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับความต้องของแต่ละบุคคล

No comments:

Post a Comment